การบูร ชื่อสามัญ Camphor, Gum camphor, Formosan camphor, Laurel camphor
การบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) J.Presl(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.) จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)
สมุนไพรการบูร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า การะบูน (ภาคกลาง), อบเชยญวน (ไทย), พรมเส็ง (เงี้ยว), เจียโล่ (จีนแต้จิ๋ว), จางมู่ จางหน่าว (จีนกลาง) เป็นต้น
การบูร คือผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของ ต้นการบูร ที่มีอยู่ทั่วไปทั้งต้น โดยมักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ และมีมากที่สุดในแก่นของราก รองลงมาคือส่วนแก่นของต้น ซึ่งส่วนที่อยู่ใกล้กับโคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมา ส่วนในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย โดยในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ซึ่งผงการบูรนั้นจะมีลักษณะเป็นเกล็ดกลม ๆ ขนาดเล็ก เป็นสีขาวและแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ และแตกง่าย เมื่อทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด โดยจะมีรสปร่าเมา
สรรพคุณของการบูร
- ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยแก้ธาตุพิการ ช่วยคุมธาตุ
- การบูรมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจและเป็นยากระตุ้นหัวใจ
- ใช้เป็นยาระงับประสาท
- ช่วยแก้เลือดลม รากและกิ่งเป็นยาช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนดี
- ช่วยแก้โรคตา
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน
- ช่วยในการขับเหงื่อ
- ช่วยแก้ไข้หวัด
- ช่วยแก้อาการไอ
- ช่วยขับเสมหะ ทำลายเสมหะ
- ช่วยขับความชื้นในร่างกาย ช่วยขับลมชื้น
- ช่วยขับผายลม แก้อาการจุกแน่นเฟ้อ เมื่อนำเกล็ดการบูรมารับประทานเพียงเล็กน้อย จะช่วยขับลมได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เมล็ดมีสรรพคุณแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ส่วนรากและกิ่งมีสรรพคุณแก้อาการ
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมขึ้น จุกเสียดแน่นหน้าอก
- ช่วยแก้กระเพาะหรือลำไส้อักเสบ
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องร่วง แก้ปวดท้อง ปวดกระเพาะ แก้อาการปวดท้อง ส่วนเมล็ดในมีรสฝาด เป็นยาแก้บิด ปวดเบ่ง ท้องร่วง
- เมล็ดใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องน้อย
- ช่วยแก้อาการท้องเสีย อันเนื่องมาจากกระเพาะหรือลำไส้เย็นชื้น
- ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ใช้ทะลวงทวารบริเวณใบหน้า
- ช่วยบำรุงกำหนัด
- ช่วยขับน้ำเหลือง
- เปลือกต้นมีรสฝาด เป็นยาสมานแผล
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- เปลือกต้นและใบใช้เป็นยารักษาแผลเรื้อรังเน่าเปื่อยบริเวณผิวหนัง
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง โดยเกล็ดการบูรสามารถใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง หรือใช้แก้อาการคันตามผิวหนังได้ รักษากลากเกลื้อน แก้ผดผื่นคัน
- การบูรเป็นยาช่วยระงับเชื้ออย่างอ่อน
- การบูรมีรสเผ็ดร้อนเป็นยาแก้ปวด
- การบูรใช้เป็นทาถูนวดแก้อาการปวด แก้เคล็ดขัดยอก เคล็ดบวม ข้อเท้าแพลง ข้อบวมเป็นพิษ แก้อาการปวดตามข้อ แก้ปวดเส้นประสาท ปวดขัดตามเส้นประสาท รากและกิ่งช่วยแก้อาการปวดเมื่อตามร่างกาย ปวดเมื่อยตามข้อมือและเท้า แก้เคล็ดขัดยอก
- ช่วยแก้อาการชักบางประเภท แก้กระตุก เส้นสะดุ้ง
- การบูรเมื่อนำมาผสมเป็นขี้ผึ้งจะเป็นยาร้อน ใช้เป็นยาทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น และโรคปวดผิวหนัง
หมายเหตุ : การใช้ตาม ถ้าเป็นเปลือกต้นให้ใช้ภายนอกตามความต้องการ ส่วนรากและกิ่งใช้แบบเป็นยาแห้งครั้งละ 15-30 กรัม และการใช้เกล็ดการบูรตาม ให้ใช้ครั้งละ 2-5 มิลลิกรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าใช้ภายนอกให้นำมาแช่กับเหล้าใช้เป็นยาทาบริเวณที่ต้องการ
แหล่งที่มา.. didigamescom.org…